ขับเคลื่อนโดย Blogger.

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 31 มกราคม  พ.ศ.2557
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.
เวลาเข้าสอน 14.10  เวลาเข้าเรียน 14.10  เวลาเลิกเรียน  17.30


กิจกรรมในวันนี้

       นำเสนอสื่อที่เราเตรียมมาส่ง สื่อที่เพื่อนๆนำมาเสนอนั้นเราสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการประดิษฐ์สื่อชิ้นต่อไปได้ สื่อทุกชิ้นล้วนแล้วแต่มีประโยชน์กับเด็กได้ในทุกๆด้านของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สื่อของกลุ่มเรา

            ชื่อสื่อ  2 in1(เรียงลำดับและรูปทรงเรขาคณิต)
วิธีการเล่น
1.ให้เด็กๆแยกรูปทรงเรขาคณิตและใส่ให้ตรงบล็อก
2.ให้เด็กๆเรียงลำดับสูงไปต่ำ-ต่ำไปสูงก็ได้

ประโยชน์ของสื่อ
1.เด็กได้การวัด การเปรียบเทียบขนาดสูงต่ำของรูปทรงเลขาคณิต
2.เด็กได้เรียนรู้รูปทรงเรขาคณิต
3.การแยกประเภทรูปทรงเรขาคณิต
4.เด็กได้ฝึกประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
5.การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการหยิบจับ

ปัญหาที่พบเมื่อเด็กเล่น
คู่ของฉัน
         เด็กยังเรียงลำดับสูงต่ำไม่ได้เพราะลำดับของบล็อกนั้นยังไม่เด่นชัด จึงยากสำหรับเด็กควรทำให้มีขนาดเด่นชัดกว่านี้

เมื่อให้เด็กเล่นแล้ว
         น้องสามารถแยกแยะรูปทรงเลขาคณิตออกเป็นหมวดหมู่ได้ น้องรู้จักวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม แต่น้องแยกลำดับสูงต่ำได้ช้ากว่าจะเรียงถูกน้องใช้เวลาอยู่บ่อยครั้งในการเรียง แต่ก็ถือว่าน้องได้แสดงศักยภาพในด้านสติปัญญามากพอสมควรในการคิดแก้ปัญหา รู้จักสังเกต เปรียบเทียบ

น้องโฟกัส

สื่อที่สนใจและชื่นชอบ
ตาชั่งหรรษา
เหตุผลที่ชื่นชอบ
         เพราะการชั่งตวงไม่ค่อยมีคนทำ และดูเพื่อนตั้งใจทำงานชิ้นนี้มากดูจากผลงานละเอียดอ่อน ดึงดูดเด็กได้มากที่เดียว ตัวที่ใส่ชั่งก็จะดูรู้เลยว่าเท่ากันหรือไม่เท่ากันใส่ตัวชั่งไปก็จะหนักบ้างเท่ากันบ้าง ปะปนกันไปเราสามารถนำสื่อเพื่อนมาปรับเปลี่ยนบางอย่างได้และนำไปใช้กับห้องเรียนเด็กปฐมวัย


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 24 มกราคม  พ.ศ.2557
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.
เวลาเข้าสอน 14.10  เวลาเข้าเรียน 14.10  เวลาเลิกเรียน  17.30


กิจกรรมวันนี้
     อาจารย์สอนเขียนแผนการสอนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก โดยการแบ่งกลุ่มล่ะ 5-6 คนช่วยกันคิดแผนการสอนดูจากมาตรฐานการเรียนรู้ จากนั้นก็ออกมานำเสนอตามแผนของกลุ่มตัวเอง การจัดทำแผนการสอนคณิตศาสตร์นั้นต้องบอกถึงวัตถุประสงค์ให้ได้ มีขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป การวัดประเมินผล สื่อที่ใช้ สาระสำคัญ 
     กลุ่มของดิฉันทำกิจกรรมการเรียงลำดับความสูงของสัตว์
บรรยากาศการทำงาน
       ในแผนการสอนนั้นต้องเกี่ยวข้องกับวิชาคณิศาสตร์ด้วย และเป็นเรื่องที่เด็กทำได้และต้องการเรียนรู้เพื่อเพิ่มเติมความรู้เดิมที่มีอยู่ให้มากขึ้น แนวทางการเขียนแผนนั้นต้องไม่ยุ่งยากเกินไปต้องทำกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของเด็กเสมอ


วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 17 มกราคม  พ.ศ.2557
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.
เวลาเข้าสอน 14.10  เวลาเข้าเรียน 14.10  เวลาเลิกเรียน  17.30


กิจกรรมในวันนี้
  สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                  - แผนภูมิตาราง
เราอยู่กลุ่มแผนภูมิตาราง

                    -  แผนภูมิวงกลม
   

                     -แผนภูมิเเท่ง

        สิ่งที่เด็กได้รับจากสาระที่ 5 นี้ คือการวิเคราะห์ความน่าจะเป็นจากการจำแนก การเปรียบเทียบ  การประเมินผล
การเพิ่มเติมความรู้ที่มีอยู่ให้มากขึ้นส่วนใหญ่แล้เราจะเลือกเรื่องที่เด็กสนใจมาสอนเด็กจะได้เห็นภาพได้มากขึ้นจากแผนภูมิ
   สาระที่ 6 พีชคณิต
   ให้เราช่วยกันคิดว่าจะทำออกมาแบบใดที่เกี่ยวข้องกับพีชคณิต 
ของกลุ่มพวกเราจะเป็นรถไฟสลับสีพีชคณิตเด็กจะได้ทั้งพีชคณิตกับรูปเลขาคณิตและตัวเลขการนับจำนวน

                                     


ของกลุ่มเพื่อนๆ




............................................................................................................



วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่  10 มกราคม  พ.ศ.2557
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.
เวลาเข้าสอน 14.10  เวลาเข้าเรียน 14.10  เวลาเลิกเรียน  17.30

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
สาระที่ 1: จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลาหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
         จำนวน
 - การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
 - การอ่านตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
 - การเปรียบเทียบจำนวน
 - การเรียงลำดับจำนวน
        การรวมและการแยกกลุ่ม
 - ความหมายของการรวม
 - การรวมสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
 - ความหมายของการแยก
 - การแยกกลุ่มย่อยจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10
สาระที่ 2: การวัด
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
        ความยาว น้ำหนักและปริมาตร
 - การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
 - การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
 - การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง
         เงิน
 - ชนิดและคำของเงิน เหรียญและธนบัตร
         เวลา
 - ช่วงเวลาในแต่ล่ะวัน
 - ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน
สาระที่ 3: เรขาคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิด
จาการจัดกระทำ
         ตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง
- การบอกตำแหน่งทิสทางและระยะทางของสิ่งต่างๆ
        รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
- ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมแาก กรวย ทรงกระบอก
- รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
- การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
- การสร้างสรรค์งาน ศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
สาระที่ 4: พีชคณิต
มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
     แบบรูปและความสัมพันธ์
 - แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาดหรือสิ่งที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
สาระที่ 5: การวิเคราะห์ข้อมูลและน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอ
       การเก็บรวบรวม
สาระที่ 6: ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มาตรฐาน ค.ป. 6.1 การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตรืกับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย
1.มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์
  - จำนวนนับ 1 ถึง 20
  - เข้าใจหลักการการนับ
  - รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
  - รู้ค่าของจำนวน
  - เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
  - การรวมและการแยกกลุ่ม
2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนักปริมาตร เงินและเวลา
  - เปรียบเทียบ เรียงลำดับและวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
  - รู้จักเงินเหรียญและธนบัตร
  - เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและค่าที่ใช้บอกเวลา
3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
  - ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
  - รูปเรขาคณิสามมิติและรูปเรขาคริตสองมิติ
4.มีความรู้ความเข้าใจแบบรูปของรูปที่มีรูปร่างขนาดสีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิ
6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น


วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่  13 ธันวาคม  พ.ศ.2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.
เวลาเข้าสอน 14.10  เวลาเข้าเรียน 14.10  เวลาเลิกเรียน  17.30

กิจกรรมวันนี้
       อาจารย์ให้รูปทรงมาให้เลือกว่าเราชอบอะไร สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม และวาดรูปเติมใส่ให้สมบูรณ์ตามใจเราเลยว่าจะวาดอะไรลงไป ส่วนของดิฉันวาดสามเหลี่ยมและต่อเติมเป็นรูปหนู มองให้เห็นว่ารูปทรงต่างๆสามารถวาดเป็นอะไรก็ได้โดยไม่มีขีดจำกัด ในความคิดของเด็กปฐมวัยนั้นไม่จำเป็นต้องมี    กรอบหรืกฏเกณฑ์ในการวาดรูปสัตว์นั้นเด็กอาจมีมุมมองของเขาที่แตกต่างจากเราไป






...........................................................................................................



วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่  6  ธันวาคม  พ.ศ.2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.
เวลาเข้าสอน 14.10  เวลาเข้าเรียน 14.10  เวลาเลิกเรียน  17.30





กิจกรรมในวันนี้
     นำเสนอ power point เริ่มจาก "จำนวน" การเรียนรู้ของเด็กในการนับจำนวนนั้นเริ่มจากการนับปากเปล่า 1-30 ตามวัยของเด็กแล้วต่อจากนั้นมาก็เริ่มมีอุปกรณ์เข้ามาเสริมในการนับเลขของเด็ก เช่น นับนิ้ว นับสิ่งของ หรือรูปภาพแทนสัญลักษ์ และที่เด็กต้องรู้ในการนับจำนวนคืดตัวเลข 0-9




                   "การวัด" การเรียนรู้ของเด็กเกี่ยวกับการวัดคือการเข้าใจพื้นฐานของการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา การเปรียบเทียบเรียงลำดับในสิ่งต่างๆได้


                "เรขาคณิต" เด็กควรรู้จัก จำแนกรูปทรงเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปทรงเรขาคณิตที่เกิดจากการกระทำ เช่น วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ทรงกระบอก กรวย เด็กสามรถอธิบายลักษณะของรูปทรง เปรียบเทียบสิ่งของกับรูปทรงได้



           "พีชคณิต"การเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ การเปรียบเทียบความเหมือนความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ การสังเกตแบบรูป เช่น ดินสอสีแดง ดินสอสีเขียว 




           "การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น" การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม การทำนายหรือการคาดเดาเหตุการณ์ต่างๆ


..............................................................................................


วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556



บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่  22  พฤศจิกายน  พ.ศ.2556
ครั้งที่ 3 เวลาเรียน 14.10 - 17.30 น.
เวลาเข้าสอน 14.10  เวลาเข้าเรียน 14.10  เวลาเลิกเรียน  17.30
การเรียนวันนี้
    จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหับเด็กปฐมวัย
        - เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจด้านคณิตสาสตรืพื้นฐาน
        - ทำให้เด็กรู้จักใช้และหาคำตอบ
        - เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  1.การสังเกต(observation) โดยการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรง
  2.การจำแนกประเภท(Classifying) การแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ เกณฑ์ในการจำแนกคือความเหมือน
  3.การเปรียบเทียบ(Comparing)เด็กต้องดาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไปเด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ
  4.การจัดลำดับ(Ordering) เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์
  5.การวัด(Measurement) มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์ 

กิจกรรมในวันนี้
    อาจารย์แจกกระดาษและให้วาดเกษรดอกไม้เป็นรูปวงกลม แล้วก้ใส้เลขที่เราชอบลงไป หลังจากนั้นก็นำกระดาษสีที่อาจารย์แจกมาติดกลีบดอกไม้ตามจำนวนเลขที่เราเขียน

เลข 3 ก็ใส่กลีบ 3กลีบ


จากกิจกรรมนี้เด็กได้.......
              ตัวเลขที่เท่ากับจำนวนกลีบดอกไม้ การคิด เปรียบเทียบอย่างมีเหตุผลโดยการสังเกตจากสายตา



.
...............................................................................